แนวคิด

                        ผลงานวิทยานิพนธ์ ชุด “บันทึกหนึ่งของชีวิต” แสดงออกถึงสภาวะอารมณ์ที่เกิด หลังจากการสูญเสีย ซึ่งมีสภาวะอารมณ์ ของความอาลัยอาวรณ์ ความเหงา ความคิดถึงถ่ายทอดผ่านผลงานประติมากรรมลักษณะเหมือนจริง (Realism) ในรูปแบบเหนือจริง (Surrealism) และกำหนดขอบเขตในการสร้างสรรค์อย่างชัดเจน อีกทั้งสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อติดตั้งภายใน สวนสราญรมย์ มุ่ง แสดงออกถึงแนวความคิด กระบวนการกรรมวิธี ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่แสดงออกถึงลักษณะเฉพาะตน
                       วิธีการค้นคว้าหาข้อมูลและกระบวนการ การทำงาน เริ่มจากประสบการณ์ตรง และ สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากเอกสารหนังสือ บทประพันธ์ เนื้อเพลง ผ่านกระบวนการความคิด นำมา สร้างภาพร่าง จนถึงการสร้างสรรรค์ผลงานจริงให้ใกล้เคียงตรงกับความรู้สึกและจินตนาการมากที่สุด โดยใช้เทคนิคกรรมวิธี การสร้างสรรค์ในแนวทางด้านประติมากรรม จึงทำการเลือกสถานที่ ในการทำโครงการที่เหมาะสม ที่จะติดตั้งผลงาน เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน คือ สวนสราญรมย์ ในขั้นต่อมามีการวิเคราะห์ถึงการออกแบบสถานที่ และ บริเวณที่เหมาะสมที่จะติดตั้งผลงาน โดยมีการจำลองสัดส่วนผลงานในการติดตั้ง จากนั้นนำมาขยาย ขั้นตอนสุดท้ายสร้างสถานที่จำลอง เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของสถานที่จริง เมื่อทำการติดตั้งผลงานจริงลงไป ตามเงื่อนไขผู้ สร้างสรรค์ยอมรับสิ่งแวดล้อมประสบการณ์เป็นแม่บทสำคัญ

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : “บันทึกหนึ่งของชีวิต No.1”

เทคนิค :ไฟเบอร์กลาส
ขนาด : 60x250x130 ซม.

ชื่อภาพ : “บันทึกหนึ่งของชีวิต No.2 ”

เทคนิค : ไฟเบอร์กลาส
ขนาด : 100x160x230 ซม.

ชื่อภาพ : “บันทึกหนึ่งของชีวิต No. 3 ”

เทคนิค : ไฟเบอร์กลาส
ขนาด : 180x180x200 ซม.